★•[นางสาวชินตา พูนกระโทก นักศึกษา ป.บัณฑิต โปรแกรม การศึกษา หมู่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ]•★

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานนวัตกรรม

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1. ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation
นวกรรม = นว (บาลี) หมายถึง ใหม่ + กรรม (สันสกฤต) หมายถึง การกระทำ การงาน กิจ ดังนั้น นวกรรม จึงหมายถึง การทำสิ่งใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา
นวตกรรม = นวต (บาลี) + กรม (สันสกฤต) หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น
กิดานันท์ มลิทอง (2540) นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆที่นำมาใช้ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
สิ่งที่จะถือว่าเป็นนวัตกรรม มีข้อสังเกตดังนี้
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

1.2. ประเภทของนวัตกรรม
1) Incremental Innovation การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิม มาทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) Radical Innovation เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
3) Architectural Innovation การนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาประกอบขึ้นใหม่

1.3. ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม มี ๕ ขั้นตอน คือ
1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย

1.4. การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
การปฏิเสธนวัตกรรม มีสาเหตุหลัก 4 ประการดังนี้
1) ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ โดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
การยอมรับนวัตกรรม
ดังกล่าวมาแล้วว่าบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการ ดังนั้นในการกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้นๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลัก 4 ประการ
เอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์,2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
1)ขึ้นตื่นตัว เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆ
2)ขั้นสนใจ เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3ขั้นไตร่ตรอง ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4)ขั้นทดลอง เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5)ขั้นยอมรับ เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ ก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวร หรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป
1.5. การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา
สำหรับนวัตกรรมกับการศึกษา เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา ก็เป็นการนำแนวคิดใหม่ๆ ไปใส่การศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบที่เราอยากให้เป็น เช่น อยากให้คนเรียนรู้มากขึ้น เก่งขึ้น ทำวิจัย เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งในทางนวัตกรรมการศึกษานั้นคิดว่าต้องเป็นบวกแน่นอน เพราะคงไม่มีใครคิดจะให้การศึกษาถอยหลัง แต่เราก็ต้องดูด้วย เพราะไม่แน่ สิ่งที่คิดว่าเป็นบวกในสังคมหนึ่ง มันอาจจะเป็นลบ กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2.2. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร

2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด
3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร
4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2.3. ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์โดยตรงที่สามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริง
นอกจากนี้ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆคน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
2.4. การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้อง
สามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1)เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2)ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3)ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4)ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
3.2. ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
3.3. ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1)เพื่อการสอน (Tutorial Instruction) วัตถุประสงค์เพื่อ การสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วยถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมาก เป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา
2)ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive) วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล
3)ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต(Demostration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น
4)ประเภทเกมการสอน (Instruction Games) มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย
5)ประเภทการค้นพบ (Discovery) เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
6)ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving) เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ
7)ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test) ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์
3.4. ข้อดี ข้อจำกัด
ข้อดี บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1)สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
2)ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
3)ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
4)ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
5)ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
6)ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
7)ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
8)สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
9)สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ 10)ให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
11)ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มuประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
12)ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1)การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
2)ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
3)ใช้เวลาในการพัฒนานาน
4)การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน

3.5. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1) ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2) ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3) ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4) เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5) เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6) เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7) สร้างมาตรฐานการสอน
3.6. การใช้และการประเมินผล
คอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหาร และช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่และพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทุกด้าน

4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT) หรือที่เรียกว่า ไอที นั้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ หรือการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

4.2. ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1) ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)
2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)
3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systim :DSS)
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)
4.3. ข้อดี – ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
*ข้อดี

-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไป
*ข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง-
บุคคลากร

4.4. แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
4.5. การประเมินผลการใช้งาน
จัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่ครูทุกคนควรมี

ประเด็นการอภิปราย
1. ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาหรือไม่? อย่างไร? และเพราะอะไร?
อบ ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะครูสามารถนำความรู้นี้ไปช่วยในการเรียนการสอนให้ง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อีกด้วย
2. ความรู้และทักษะที่ท่านว่ามีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์
2. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้โสตทัศนูปกรณ์
3. เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็นสำหรับครูในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
ตอบ สื่อวิดีทัศน์ ,คอมพิวเตอร์ ,เครื่องเสียง ,เครื่องโปรเทคเตอร์ ,overhead เป็นต้น
4.จะทราบได้อย่างไร? ว่าครูมีความรู้และทักษะมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ
1. ครูสาธิตการใช้งานของเครื่องมือต่างๆ
2. จัดแสดงผลงานของครู
5.จะเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะเหล่านี้แก่ครูด้วยตนเองอย่างไร?
ตอบ ศึกษาจากหนังสือ ตำราวิชาการต่างๆ หาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือเข้ารับการอบรม สัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

☞"สื่อมวลชนกับการศึกษา"

การใช้คำว่า " การศึกษา" ตามความหมายที่ถูกต้อง คือความหมายที่ตรงกับความหมายของคำในภาษาอังกฤษว่า "Education" ในภาษาไทย บางครั้งคนทั่วไปใช้คำว่าการศึกษาในความหมายที่คาดเคลื่อน คือ นำไปใช้ในความหมายของ คำว่า การเรียนรู้ (Learning) ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ การเรียนรู้ หมายถึงการแปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือทางไม่ดีก็ได้ แต่คำว่า "การศึกษา"หมายถึงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดีและสังคมยอมรับเท่านั้น ส่วนคำว่า สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น


◤ปัจจุบันสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตและสังคมมาก บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สำคัญ คือ การเสนอข่าว ,การเสนอความคิดเห็น ,ให้ความบันเทิง ,ให้การศึกษา ,การประชาสัมพันธ์ และโฆษณา ซึ่งการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษานั้นจะเกิดประโยชน์มากมาย เพราะสื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ สื่อมวลชนนอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
แนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา อาจทำได้โดยจัดทำหลักสูตรสร้างความสามารถในการผลิตสื่อชุมชน ส่งเสริมความสามรถในการผลิตสื่อขึ้นในชุมชน เป็นขั้นถัดมาจากแนวการจัดหลักสูตรแบบวิพากษ์ เช่นหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาใน คานาดา เยอรมัน ฝรั่งเศล นอกจากจะฝึกนักเรียนให้เลือกรับสื่ออย่างวิพากษ์แล้ว ยังเปิดให้นักเรียนสารมารถผลิตสื่อที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระ และยังเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชุมชน อันหมายถึงการเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอีกด้วย นักเรียนอาจร่วมกันผลิตจดหมายข่าว หรือหนังสือพิมพ์ชุมชนขนาดเล็ก รายการวิทยุอย่างง่าย หรือรายการโทรทัศน์ทางเคเบิลชุมชน เป็นต้น
สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ เพราะเป็นสื่อที่เห็นได้โดยตรง มีทั้งภาพและเสียง ซึ่ง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สำรวจครอบครัวเรื่อง “อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก” ผลการสำรวจพบว่า เด็กส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์เฉลี่ยถึง 3-5 ชม. ต่อวัน และรายการที่เด็กชอบดูได้แก่ การ์ตูนไทย การ์ตูนญี่ปุ่น/ฝรั่ง และรายการละครก่อน-หลังข่าวภาคค่ำ นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กไทยบริโภคอาหาร และขนมตามโฆษณาทางโทรทัศน์ อีกทั้งเลียนแบบพฤติกรรมของตัวการ์ตูน รวมทั้งมีกิริยาท่าทางก้าวร้าวเพราะเลียนแบบตัวละคร ผลการสำรวจเห็นได้ว่า โทรทัศน์มีผลต่อบุตรหลานของเราทั้งทางตรง และทางอ้อมมากมาย ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนก็ทั้งดีและไม่ดี และมันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งสื่อมีความไฮเทคมากเท่าไรคุณค่าของมันก็มีมากเท่านั้นและพร้อมที่จะทำร้ายได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับคุณค่าที่ดีดีของมัน ตัวอย่างเช่น การส่งSMS ร่วมแสดงความคิดเห็นของรายการโทรทัศน์ต่างๆ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ และได้รับข้อมูลใหม่ ๆ จากทางบ้านที่เป็นประโยชน์แก่สังคม แต่ ข้อเสีย คือ เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS และการแสดงความคิดเห็นอาจไม่ตรงประเด็นและใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมกับการแพร่ภาพออกอากาศ
การจัดเรตติ้งทางโทรทัศน์ นับเป็นการแก้ไขปัญาหาอีกทางหนึ่งเพราะโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากกับผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง เพศ และภาษา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เด็กนั่งดูโทรทัศน์วันละ 3-5 ชั่วโมง จึงมีผลต่อพฤติกรรม ความคิด การตัดสินใจของเด็กเป็นอย่างมาก การนำระบบเรตติ้งมาใช้จึงเป็นการคุ้มครองเด็กไปในตัวให้ได้ดูรายการที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ ไม่ใช่การทำร้ายผู้ประกอบการ ผู้ผลิตละคร


สรุป
◤สื่อมวลชนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ แต่สื่อมวลชนก็เปรียบสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัว เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพในสังคม มันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม