★•[นางสาวชินตา พูนกระโทก นักศึกษา ป.บัณฑิต โปรแกรม การศึกษา หมู่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ]•★

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

☞"สื่อมวลชนกับการศึกษา"

การใช้คำว่า " การศึกษา" ตามความหมายที่ถูกต้อง คือความหมายที่ตรงกับความหมายของคำในภาษาอังกฤษว่า "Education" ในภาษาไทย บางครั้งคนทั่วไปใช้คำว่าการศึกษาในความหมายที่คาดเคลื่อน คือ นำไปใช้ในความหมายของ คำว่า การเรียนรู้ (Learning) ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ การเรียนรู้ หมายถึงการแปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือทางไม่ดีก็ได้ แต่คำว่า "การศึกษา"หมายถึงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดีและสังคมยอมรับเท่านั้น ส่วนคำว่า สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น


◤ปัจจุบันสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตและสังคมมาก บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่สำคัญ คือ การเสนอข่าว ,การเสนอความคิดเห็น ,ให้ความบันเทิง ,ให้การศึกษา ,การประชาสัมพันธ์ และโฆษณา ซึ่งการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษานั้นจะเกิดประโยชน์มากมาย เพราะสื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ สื่อมวลชนนอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
แนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา อาจทำได้โดยจัดทำหลักสูตรสร้างความสามารถในการผลิตสื่อชุมชน ส่งเสริมความสามรถในการผลิตสื่อขึ้นในชุมชน เป็นขั้นถัดมาจากแนวการจัดหลักสูตรแบบวิพากษ์ เช่นหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาใน คานาดา เยอรมัน ฝรั่งเศล นอกจากจะฝึกนักเรียนให้เลือกรับสื่ออย่างวิพากษ์แล้ว ยังเปิดให้นักเรียนสารมารถผลิตสื่อที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระ และยังเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชุมชน อันหมายถึงการเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอีกด้วย นักเรียนอาจร่วมกันผลิตจดหมายข่าว หรือหนังสือพิมพ์ชุมชนขนาดเล็ก รายการวิทยุอย่างง่าย หรือรายการโทรทัศน์ทางเคเบิลชุมชน เป็นต้น
สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ เพราะเป็นสื่อที่เห็นได้โดยตรง มีทั้งภาพและเสียง ซึ่ง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สำรวจครอบครัวเรื่อง “อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก” ผลการสำรวจพบว่า เด็กส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์เฉลี่ยถึง 3-5 ชม. ต่อวัน และรายการที่เด็กชอบดูได้แก่ การ์ตูนไทย การ์ตูนญี่ปุ่น/ฝรั่ง และรายการละครก่อน-หลังข่าวภาคค่ำ นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กไทยบริโภคอาหาร และขนมตามโฆษณาทางโทรทัศน์ อีกทั้งเลียนแบบพฤติกรรมของตัวการ์ตูน รวมทั้งมีกิริยาท่าทางก้าวร้าวเพราะเลียนแบบตัวละคร ผลการสำรวจเห็นได้ว่า โทรทัศน์มีผลต่อบุตรหลานของเราทั้งทางตรง และทางอ้อมมากมาย ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนก็ทั้งดีและไม่ดี และมันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งสื่อมีความไฮเทคมากเท่าไรคุณค่าของมันก็มีมากเท่านั้นและพร้อมที่จะทำร้ายได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับคุณค่าที่ดีดีของมัน ตัวอย่างเช่น การส่งSMS ร่วมแสดงความคิดเห็นของรายการโทรทัศน์ต่างๆ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ และได้รับข้อมูลใหม่ ๆ จากทางบ้านที่เป็นประโยชน์แก่สังคม แต่ ข้อเสีย คือ เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS และการแสดงความคิดเห็นอาจไม่ตรงประเด็นและใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมกับการแพร่ภาพออกอากาศ
การจัดเรตติ้งทางโทรทัศน์ นับเป็นการแก้ไขปัญาหาอีกทางหนึ่งเพราะโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากกับผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง เพศ และภาษา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เด็กนั่งดูโทรทัศน์วันละ 3-5 ชั่วโมง จึงมีผลต่อพฤติกรรม ความคิด การตัดสินใจของเด็กเป็นอย่างมาก การนำระบบเรตติ้งมาใช้จึงเป็นการคุ้มครองเด็กไปในตัวให้ได้ดูรายการที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ ไม่ใช่การทำร้ายผู้ประกอบการ ผู้ผลิตละคร


สรุป
◤สื่อมวลชนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ แต่สื่อมวลชนก็เปรียบสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัว เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพในสังคม มันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม








ไม่มีความคิดเห็น: